วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลตัวแปร และค่าคงที่

ข้อมูลตัวแปร และค่าคงที่
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. นักเรียนสามารถบอกลักษณะของข้อมูล (Data) ตัวแปร(Variable) ค่าคงที่ (Constant) ได้
2. นักเรียนอธิบายวิธีแปลงค่าข้อมูลได้
3. นักเรียนสามารถสร้างโปรแกรมใช้งานคำนวณได้

สาระสำคัญ
1. ข้อมูล (Data)
2. ตัวแปร (Variable)
3. ค่าคงที่ (Constant)
4. การแปลงค่าข้อมูล
5. การสร้างโปรแกรมใช้งานคำนวณ

ในการเขียนโปรแกรมที่ได้เรียนรู้มาเราต้องใช้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับตัวควบคุมและคุณสมบัติประจำตัวนั้นบังมีคำสั่งของ Visual Basic 2005 Express Edition อีกหลายคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูล ตัวแปร และค่าคงที่ รวมถึงวิธีการจัดการเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล ตัวแปร และค่าคงที่ รวมถึงวิธีการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลต่างอีกด้วย

ข้อมูล
โปรแกรมคอมพิวเตอ์ส่วนมากเกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบต่างๆ ข้อมูลที่ใช้ใน Visual Basic 2005 Express Edition มีอยู่หลายแบบ ในเบื้องต้นแบ่งได้ ดังนี้
1 ข้อมูลแบบตัวแบบตัวเลข
หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าเป็นตัวเลข จำแนกได้เป็นแบบเลขจำนวนเต็ม (Integral Numeric Types) และแบบจำนวนจริง (Nonintegral Numeric Types )
2. ข้อมูลแบบตัวอักษร
หมายถึงข้อมูลที่มีค่าเป็นตัวอักษรแบ่งได้เป็น
1. แบบ Char หมายถึง ตัวอักษรหนึ่งตัว หรือเป็นตัวว่างไม่มีค่า (null)
2. แบบ String หมายถึง ตัวอักษรหนึ่งตัวหรือหลายตัวต่อเนื่องกันเป็นข้อความ
3. ข้อมูลแบบบูลีน(Boolean) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าเป็นจริง หรือเท็จ
4. ข้อมูลแบบวันที่ (Date) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่า วัน เดือน ปี
5. ข้อมูลแบบวัตถุ หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุต่างๆที่ใช้ในโปรแกรม สามารถเก็บค่าข้อมูลข้างต้นได้ทุกแบบ



ตัวแปร (Variable)
ตัวแปร หมายถึง ที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำขณะที่โปรแกรมทำงาน ประกอบด้วยชื่อตัวแปรและตำแหน่งที่เก็บ แต่ในการเรียกใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ชื่อตัวแปรเป็นหลัก
ตัวแปรใช้เก็บข้อมูลที่มีการเรียกใช้หลายครั้ง เช่น ในการคำนวณหลายอย่าง การเปรียบเทียบข้อมูลหลายครั้ง
การใช้ตัวแปรมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศตัวแปร (Declare the variable)
2. กำหนดค่าตัวแปร (Assign the variable)
3. ใช้ตัวแปร( use the variable)
1. การประกาศตัวแปร (Declare the variable)ก่อนจะประกาศตัวแปรชื่อใด จะต้องประกาศให้ตัวแปรชื่อนั้นเป็นแบบที่สัมพันธ์กับแบบของข้อมูลที่จะใช้ โดยประกาศในตอนต้นของโปรแกรมบริเวณส่วนประกาศ(Declaration) ด้วยประโยคคำสั่ง ตามรูปแบบ ดังนี้
Dim ชื่อของตัวแปร As แบบข้อมูล
ตัวอย่าง : Dim TempValue As Integer
หมายถึง ให้ตัวแปรชื่อ TempValue เป็นตัวแปรสำหรับเก็บค่าตัวเลขแบบ Integer

หมายเหตุ :
1. ถ้าประกาศชื่อตัวแปร โดยไม่ระบุรูแบบของตัวแปร จะถือว่าจะประกาศตัวแปรแบบ object นั่นคือ สามารถเก็บค่าได้ทุกรูปแบบ
2. การประกาศตัวแปรแต่ละชื่อ ประกาศได้เพียงครั้งเดียวและแบบเดียวเท่านั้น มิฉะนั้นจะเกิดความผิดพลาด

การตั้งชื่อตัวแปร
การตั้งชื่อตัวแปรมีลักษณะดังนี้
1. ต้องเริ่มด้วยตัวอักษร
2. ใช้เฉพาะตัวอักษร ตัวเลข หรือขีดเส้นใต้( _ )
3. ต้องไม่มีอักขระหรือเครื่องหมายอื่น
4. ถ้าเริ่มด้วยเส้นใต้ ต้องมีอักขระหรือตัวเลขอย่างน้อย 1 ตัวเช่น student_8
5. ยาวไม่เกิน 1023 ตัวอักษร
6. ห้ามเว้นวรรค
7. ใช้ตัวขีดเส้นใต้แทนช่องว่างเช่น name_1
8. ควรใช้ชื่อสื่อความหมายว่าเก็บค่าอะไร แทนที่จะใช้ S เพื่อเก็บค่าคะแนนของนักเรียน ควรใช้คำว่าstudent_score เพราะสามารถสื่อความหมายเข้าใจชัดเจนกว่า หากต้องการเรียกใช้ในครั้งต่อไป
9. ห้ามใช้ชื่อซ้ำคำสงวน เช่น คำที่เป็นชนิดของข้อมูล คำสั่งต่างๆ(ข้อความที่มีสีในโค้ด)

การประกาศตัวแปรหลายตัวที่ใช้แบบข้อมูลแบบเดียวกัน ถ้าต้องการประกาศตัวแปรหลายตัวให้เป็นข้อมูลแบบเดียวกัน แทนที่จะประกาศแยกทีละตัว แต่ละบรรทัด สามารถประกาศตามรูปแบบ ดังนี้
Dim ชื่อตัวแปรที่1, ชื่อตัวแปรที่2, ชื่อตัวแปรที่3, .... As ชนิดของข้อมูล
เช่น Dim hobby, hobby1, hobby2 hobby3, hobby4 As String
มีค่าเช่นเดียวกับ Dim hobby As String
Dim hobby1 As String
Dim hobby2 As String
Dim hobby3 As String
Dim hobby4 As String

การกำหนดค่าให้ตัวแปร (Declare variable)
ปกติแล้ว ตัวแปรทุกตัวของ Vb2005 จะมีค่าเริ่มเป็น 0 (ศูนย์) สำหรับตัวแปรที่ใช้กับตัวเลข ส่วนตัวอักษรจะมีค่าเริ่มต้นที่ null คือ ว่าง หรือไม่มีอะไร สัญลักษณ์คือเครื่องหมาย อัญประกาศ ( “”)
เมื่อต้องการกำหนดค่าตัวแปร ให้กำหนด ดังนี้
ชื่อตัวแปร = ค่าข้อมูล
ชื่อตัวแปรจะต้องตรงกับชื่อที่ประกาศไว้ และค่าข้อมูลที่กำหนดจะต้องอยู่ในช่วงค่าข้อมูลตามที่ประกาศไว้
ตัวอย่าง student_no = 12 ข้อมูลชนิด Byte
Student_Score = -10 ข้อมูลชนิด SByte
Student_name = “Athikom” ข้อมูลชนิด String
***โปรดสังเกตว่า ข้อมูลที่เป็น String จะอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ

3 ความคิดเห็น: